24 มกราคม 2553

เกาหัวแกร็ก ๆ ไปกับ...แก๊ส

แรงไฟจากแก๊สชีวภาพที่ผ่านปั๊มลมอัตโนมัติ
ถังเก็บแก๊สแบบถังโหม่งและแบบบ่อปูน

ผ่านลานประหาร (หมู) คราใด....จะรู้บ้างไหม ว่าใจนั้นคิดถึงแก๊ส...

เรื่องของถังแก๊สชีวภาพ ได้สู้เพื่อให้ใช้ได้จริงมาราวสองปีแล้ว และยืนยันฟันธงได้เลยว่า ถังหมักที่ได้รับมาพร้อมถังเก็บอีกหนึ่งลูก ทำได้ก็เพียงไว้สาธิตให้รู้ว่า "เห็นไหม ๆ ....เศษอาหารกลายเป็นแก๊สหุงต้มได้นะ" เท่านั้น ถ้าจะไม่ให้เพียงแต่เป็นชุดสาธิต ต้องใช้คาถา "ตื๊อ...ๆ ....ๆ และ ตื๊อ...." สถานเดียว

เพราะที่ผ่านมาได้ทำทั้งเพิ่มถังเก็บแก๊สให้มากขึ้นทั้งแบบถังเหล็กและถังปูน เมื่อการหมักนิ่งและแน่นอนแล้ว วันหนึ่งได้เข้าไป youtube หาความรู้ ก็เลยได้รู้ว่าหากจะให้ได้มีเทนที่บริสุทธิ์ขึ้น ต้องให้แีก๊สในถังหมักผ่านกระบอกผงขี้เหล็กที่นำมาจากโรงกลึงเพื่อแยกออกไซด์ และผ่านน้ำหรือน้ำโซดาไฟ เพื่อแยกคาร์บอนไดออกไซด์ออก ให้เหลือแต่มีเทนไปยังหัวเตาแก๊ส

แต่ปัญหาใหญ่ที่ตามมาก็คือ มีเทนเป็นแก๊สเฉื่อย ไม่มีแรงอัด ก็เลยทดลองนำคอมเพรสเซอร์ และเครื่องแวคคั่มมาอัดและดูดอากาศออกจากถังแก๊สขนาดเหล็กที่เราใช้ตามบ้าน ซึ่งก็ล้มเหลวเป็นครั้งที่นับไม่ถ้วน เพราะอัดเข้าถังแล้วน่าจะใช้ทำกับข้าวได้ไม่เกินสี่ห้ามื้อ แก๊สก็หมด

มานั่งตรึกตรองใหม่ ก็เห็นว่าเราน่าจะเหมาะใช้ในการฆ่าหมูมากกว่า เลยไปยืมปั๊มลมดูดแก๊สในถังหมักมาอัดในปั๊มลมอัตโนมัติไว้ แล้วก็ได้เรื่องเพราะมีน้ำผสมเข้ามาด้วยเวลาแก๊สในถังเก็บหมด ที่สุดแล้วปั๊มลมก็ระเบิดมอเตอร์พัง แต่สิ่งที่ได้มาคือ แรงดันไฟที่หัวเตาดีมั่ก ๆ

เห็นได้เลยว่าไฟแรง และก็แน่นอนว่าต้องใช้แก๊สเปลือง เหมือน ๆ ขนาดของถังหมักและถังเก็บจะไม่พอใช้งานอีกแล้วกรณีนำปั๊มลมมาช่วย ...เฮ้อ...คิดแล้วกลุ้ม

แต่เมื่อย้อนมองกลับไป ถังแก๊สก็ให้ปุ๋ยน้ำที่อุดมด้วยจิลินทรีย์ทุกวันอยู่แล้ว ช่วยลดปริมาณเศษอาหารโดยการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ถ้าได้แก๊สอีกอย่างหนึ่งด้วยก็ถือเป็นผลกำไร จะกลุ้มไปทำไม (วะ)


1 ความคิดเห็น:

thongchai กล่าวว่า...

อัดแกสลงถังเหมือนที่ใช้ในครัวเรือนได้ ก็จะทำให้การจ่ายแกสเป็นไปอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือน การสูบน้ำประปาขึ้นไปเก็บบนถังสูง ก็ไม่ต้องใช้มอเตอร์ในการสูบจ่าย ฉันใดก็ฉันนั้น อัดดแกสลงถังได้ ก็ไม่ต้องใช้ปั๊มลม ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ลดโลกร้อนด้วย บางทีอาจทดลองหลาย ๆ ทาง เพื่อไปสู่ความสสำเร็จ จะว่าไปแล้ว ก็เป็นหลักการเดียวกันกับที่ทำอยู่ คือการเพิ่มแรงดัน แกสอยู่ในถังจะมีแรงดันที่สมำเสมอ ขึ้นอยู่กับวาลว์ที่เราเปิด แต่ปั๊มลมมีแรงดันไม่ค่อยสมำเสมอ โดยเฉพาะเวลาที่ปั๊มลมทำงานอัตโนมัต น่าจะเกิดการกระชากของมอเตอร์ เลยทำให้มอเตอร์ระเบิดได้ อีกทั้งการใช้ปัมลมเป็นตัวเร่ง อาจทำให้อากาศกับแกสไม่สมดุลกัน ทำให้เกิดอัตรากินแกสมาก หากเปิดลมมากแกสหายเร็ว เปิดลมน้อยแกสไม่แรง การอัดแกสลงถังน่าจะเป็นสูตรที่สำเร็จที่สุด ความเห้นส่วนตัวนะครับ สันนิษฐานเอา จำลองวิธีคิดมาจากการเฝ้ามองเตาแกสที่บ้านคับ